วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น               ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม  นำไปใช้                                 ในการกำหนดเนื้อหา  จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน

๑. ตัวชี้วัดชั้นปี   เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ          (ประถมศึกษาปีที่ ๑ – มัธยมศึกษาปีที่ ๓)    
    
๒. ตัวชี้วัดช่วงชั้น  เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(มัธยมศึกษาปีที่ ๔- ๖)

หลักสูตรได้มีการกำหนดรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อความเข้าใจและให้สื่อสารตรงกัน ดังนี้

ว ๑.๑ ป. ๑/๒
ป.๑/๒        ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑  ข้อที่ ๒
๑.๑            สาระที่ ๑  มาตรฐานข้อที่ ๑  
ว                กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ต ๒.๒ ม.๔-๖/ ๓
ม.๔-๖/๓      ตัวชี้วัดชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ข้อที่ ๓
๒.๓            สาระที่ ๒  มาตรฐานข้อที่ ๒
ต                 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ


1. ระดับประถมศึกษา
1.1 ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน สอนระดับชั้นเดียวกัน ร่วมกันศึกษาและ
วิเคราะห์ตัวชี้วัดชั้นปี และสาระการเรียนรู้แกนกลางตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด แต่ละตัวชี้วัดว่า มีคำ หรือข้อความสำคัญ(Key words)ใดที่เป็น “ความรู้(K)” “ทักษะ/กระบวนการ(P)” และ “คุณลักษณะ(A)” (เป็นคุณลักษณะของรายวิชาที่ปรากฏตามตัวชี้วัด  อาจจะไม่ตรงกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนดก็ได้) จัดแยกไว้เป็นส่วน ๆ วิเคราะห์ให้ครบทุกตัวชี้วัดที่กำหนดในรายวิชาโดยอาจจะใช้แบบฟอร์มข้างล่าง
1.2 นำข้อความที่วิเคราะห์ไว้(ด้านความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะ)
มาสังเคราะห์ หรือร้อยเรียงเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา โดยอาจจะให้ข้อความทั้ง 3 ส่วนที่วิเคราะห์ไว้ผสมกลมกลืน หรือเขียนแยกส่วนของความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะไว้คนละ       ย่อหน้าก็ได้ และย่อหน้าสุดท้ายของคำอธิบายรายวิชา ต้องระบุด้วยว่า วิชานี้มีตัวชี้วัดอะไรบ้าง โดยเขียนเป็นรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดไว้ด้วย ดังนี้
ว 1.1 ป. 1/2
ป.1/2        หมายถึง ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ข้อที่ 2
1.1            หมายถึง สาระที่ 1  มาตรฐานข้อที่ 1    
ว                หมายถึง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ครูที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน ระดับชั้นเดียวกัน ศึกษาและวิเคราะห์
ตัวชี้วัดชั้นปีตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด แล้วช่วยกันจัดวางตัวชี้วัดไว้ในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ตัวชี้วัดที่จัดวางในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 อาจจะซ้ำกัน หรือไม่ซ้ำกันก็ได้ แล้วแต่ดุลพินิจของผู้สอน ซึ่งต้องคำนึงถึงเวลาที่ใช้สอนในแต่ละภาคเรียนด้วยว่ามีเพียงพอหรือไม่ และถ้านำตัวชี้วัดใดไว้ในภาคเรียนใด ในภาคเรียนนั้นต้องประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามตัวชี้วัดนั้นด้วยทุกตัวชี้วัด
ครูผู้สอนวิเคราะห์ตัวชี้วัดชั้นปี และสาระการเรียนรู้แกนกลางตามที่หลักสูตร
แกนกลางฯ กำหนดสำหรับภาคเรียนที่ 1 แต่ละตัวชี้วัดว่า มีคำ หรือข้อความสำคัญ(Key words)ใดที่เป็น “ความรู้(K)” “ทักษะ/กระบวนการ(P)” และ “คุณลักษณะ(A)” (เป็นคุณลักษณะของรายวิชาที่ปรากฏตามตัวชี้วัด  อาจจะไม่ตรงกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด         ก็ได้) จัดแยกไว้เป็นส่วน ๆ ให้ครบทุกตัวชี้วัดของภาคเรียนนั้น โดยอาจจะใช้แบบฟอร์มข้างล่าง
นำข้อความที่วิเคราะห์ไว้(ด้านความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะ)
มาสังเคราะห์ หรือร้อยเรียงเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา โดยอาจจะให้ข้อความทั้ง 3 ส่วนที่วิเคราะห์ไว้ผสมกลมกลืน หรือเขียนแยกส่วนของความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะไว้คนละ       ย่อหน้าก็ได้ และย่อหน้าสุดท้ายของคำอธิบายรายวิชา ต้องระบุด้วยว่า วิชานี้มีตัวชี้วัดอะไรบ้าง โดยเขียนเป็นรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดไว้ด้วย ดังนี้
ว 1.1 ม. 1/2
ม.1/2        หมายถึง ตัวชี้วัดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ข้อที่ 2
1.1            หมายถึง สาระที่ 1  มาตรฐานข้อที่ 1    
ว               หมายถึง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
3.  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เนื่องจากหลักสูตรแกนกลางฯ กำหนดตัวชี้วัดเป็นช่วงชั้น(ม.4-6) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนั้น ครูผู้สอนควรดำเนินการ ดังนี้
 3.1  ครูที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน ระดับชั้นเดียวกัน ศึกษาและวิเคราะห์
ตัวชี้วัดช่วงชั้นตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด แล้วช่วยกันจัดวางตัวชี้วัดไว้ในแต่ละระดับชั้น(ม.4, ม.5, และ ม.6) ในแต่ละภาคเรียน(ภาคเรียนที่ 1-6) ตัวชี้วัดที่จัดวางในแต่ละภาคเรียน อาจจะซ้ำกัน หรือไม่ซ้ำกันก็ได้ แล้วแต่ดุลพินิจของผู้สอน ซึ่งต้องคำนึงถึงเวลาที่ใช้สอนในแต่ละภาคเรียนด้วยว่ามีเพียงพอหรือไม่ และถ้านำตัวชี้วัดใดไว้ในภาคเรียนใด ในภาคเรียนนั้นต้องประเมินผล         การเรียนรู้ของผู้เรียนตามตัวชี้วัดนั้นด้วยทุกตัวชี้วัด
ครูผู้สอนวิเคราะห์ตัวชี้วัดช่วงชั้น และสาระการเรียนรู้แกนกลางตามที่หลักสูตร
แกนกลางฯ กำหนดสำหรับแต่ละภาคเรียน พิจารณาว่า แต่ละตัวชี้วัด มีคำ หรือข้อความสำคัญ(Key words)ใดที่เป็น “ความรู้(K)” “ทักษะ/กระบวนการ(P)” และ “คุณลักษณะ(A)” (เป็นคุณลักษณะของรายวิชาที่ปรากฏตามตัวชี้วัด  อาจจะไม่ตรงกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนดก็ได้) จัดแยกไว้เป็นส่วน ๆ ให้ครบทุกตัวชี้วัดของภาคเรียนนั้น โดยอาจจะใช้แบบฟอร์มข้างล่าง
นำข้อความที่วิเคราะห์ไว้(ด้านความรู้ ทักษะ/กระบวนการ คุณลักษณะ) มา